เทียบการพัฒนาโปรแกรมกับอาหาร

Standard
Interface design By John Geleynse : นาย John เปรียบเทียบ application กับอาหารสองแบบ คือ

fast food

ประสบการณ์ที่ได้จาก Fast Food

  1. ใช้คนที่ไม่ใช่กุ๊ก เป็นแค่คนที่ทำอาหารได้
    ส่วนเราก็จะกลายเป็นแค่คนที่กินได้ แค่ผักกับเนื้อมากๆ ก็พอ
    เหมือนกับโปรแกรมที่เน้นอัดโน่นนี่ลงไป ให้ทำอะไรได้มากๆ ในหน้าจอเดียว
    ไม่ได้
  2. วัตถุดิบแบบโหล สิ่งที่เค้าเน่นคือเรื่องของราคา library ต่างๆ ที่นำมาใช้ก็เลือกที่ใช้ได้ ไม่คำนึงว่าต้องดีที่สุด แค่ทำงานได้ก็พอ
  3. สารอาหารต่ำ หลายอย่างที่ผู้บริโภคมองไม่เห็น
    แต่เป็นสิ่งที่ได้มายกตัวอย่างเช่นโปรแกรม presentation
    บางตัวใช้งานแล้วอาจจะทำให้ผู้ใช้ ฉลาดน้อยลงก็ได้
  4. กินได้ กินบ่อยๆ ก็อร่อยเอง
    ยิ่งใช้มานานก็จะยึดติดมากขึ้นเรื่อยๆ
    สุดท้ายพอใช้ได้คล่องก็รู้สึกว่าทำอะไรได้ง่าย
    ถึงแม้ว่าจะมีของอร่อยกว่ามา แต่ของที่เคยกินที่บ้านเกิดก็อร่อยกว่าอยู่ดี
  5. ไม่สวยงาม ไม่ใช่ว่าของที่ทำออกมาเร็วๆ
    แล้วจะไม่สวยแต่ ของที่เป็น fast food
    เค้าไม่สนใจความสวยงามเพราะไม่ใช่สิ่งที่เอาไปขายให้กับกลุ่มเป้าหมายของ
    เค้า
  6. ไม่ดีสำหรับคุณ แน่นอนว่าโปรแกรมแบบ fast food มันกินได้ แต่ดีหรือเปล่าคงต้องคิดให้หนักนะ


Dining

ประสบการณ์ที่ได้จาก Fine Dining

  1. ใช้คนที่เป็นกุ๊กจริงๆ
    เค้าไม่ได้คิดแค่ให้เรากินเข้าไป แต่สิ่งที่คิดจะมากกว่านั้นทั้งรสชาติ
    และความรู้สึกอื่นๆ ในการบริโภค ลองนึกถึงโปรแกรมที่เราเขียนครั้งแรก
    กับตอนที่เราเขียนโปรแกรมนั้นอีกครั้ง หรือลองนึกถึงตอนอ่าน error ที่เขียนลวกๆ กับ error ที่เขียนดีๆ จะต่างกันมาก
  2. วัตถุดิบ สด ผ่านการคัดสรรค์
    ของดีวัตถุดิบต้องดีด้วย
    โปรแกรมที่มาเป็นองค์ประกอบของโปรแกรมหลักก็ต้องดีด้วย library ต่างๆ
    ที่นำมาประกอบกันก็ต้องผ่านการคัดมาอย่างดี ไม่ใช่แค่ทำงานได้
    แต่ต้องทำงานได้อย่างดี
  3. ได้สารอาหาร
    เวลาที่เราพัฒนาโปรแกรมนอกจากโปรแกรมจะช่วยตอบคำถามหลักของผู้ใช้แล้ว
    ยังต้องตอบคำถามอื่นๆ ที่ผู้ใช้ต้องการด้วย เช่นเราทำโปรแกรมเขียน CD
    สิ่งที่ต้องมีเพิ่มเติมเช่นสามารถตรวจดูได้ว่า CD ทำงานอยู่หรือเปล่า
  4. ถูกปาก ดูโปรแกรมแล้วเข้าใจ work flow ของโปรแกรมกับ workflow ของการทำงานไม่ต่างกัน
  5. สวยงามดึงดูดใจ แน่นอนว่าอาหาร fast food ความใสใจในความสวยงามต่างจากอาหาร fine dinning แน่ๆ
  6. ดีต่อสุขภาพ อย่างน้อยถ้าโปรแกรมไม่งี่เง่า คนใช้ก็ไม่หงุดหงิด

"การออกแบบโปรแกรม
ก็ไม่ต่างจากการทำอาหารขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการเขียนโปรแกรมแบบ fast food
หรือโปรแกรม Fine Dining ทั้งสองแบบก็มี business model ที่ไม่เหมือนกัน
แต่ถ้าเราต้องการสร้างโปรแกรมที่ดี ให้กับกลุ่มเป้าหมายของเรา
สิ่งที่เราต้องการคือการออกแบบ"

Refferrence : http://www.codenone.com/node/137

Leave a comment